วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

About US


วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network)

       โทโปโลยีแบบบัส (bus topology)
โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วม หรือ บัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ (Address) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ในการส่งสัญญาณในสายที่แชร์กันนี้จำเป็นที่ต้องเข้าใจหลักการต่อไปนี้
- การส่งข้อมูล
- การสะท้อนกลับของสัญญาณ
- ตัวสิ้นสุดสัญญาณ

ลักษณะการส่งข้อมูล
การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้น ข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้น เนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่งเนื่องจากมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้น จำนวนคอมพิวเตอร์ที่พ่วงต่อเข้ากับสื่อกลางจะมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย เพราะยิ่งจำนวนคอมพิวเตอร์มีมากเท่าไร ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอนานเพื่อที่จะส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีผลทำให้เครือข่ายช้ามากขึ้นยังไม่มีวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการวัดว่าจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายอย่างไร ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายลดลงนั้นไม่ใช่เฉพาะจำนวนคอมพิวเตอร์อย่างเดียว สิ่งต่อไปนี้เป็นปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายได้
ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
จำนวนของโปรแกรมที่กำลังรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์
ชนิดของแอพพลิเคชันที่ใช้เครือข่าย เช่น แอพพลิเคชันแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ โปรแกรมถ่ายโดนไฟล์ผ่านเครือข่าย เป็นต้น
ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย

ในขณะใดขณะหนึ่ง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย จะเช็คดูว่ามีข้อมูลส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ หรือไม่ก็กำลังส่งข้อมูล เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่มีหน้าที่ในการส่งข้อมูล ดังนั้นเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานก็จะไม่ทำให้เครือข่ายล่มได้ 

การสะท้อนกลับของสัญญาณและเทอร์มิเนเตอร์  
เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปในเครือข่ายอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณนี้จะต้องเดินทางจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งของสายสัญญาณ ถ้าไม่มีการจำกัดสัญญาณนี้มันก็จะสะท้อนกลับมาบนสายสัญญาณ ซึ่งอาจทำให้เครื่องอื่นๆ ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการหยุดการสะท้อนกลับไปกลับมา ของสายสัญญาณนี้ หลังจากที่ข้อมูลได้ส่งถึงที่หมายเรียบร้อย ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อไม่ให้สะท้อนกลับ และจะถูกติดไว้ที่ปลายสัญญาณ การดูดกลืนสัญญาณนี้จะทำให้สัญญาณว่าง และพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลอีกที่ปลายทั้งสองข้างของสายสัญญาณจะต้องเสียบเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด หรือตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้มีระยะยาวขึ้น ปลายที่ไม่ได้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จะต้องติดตัวเทอร์มิเนเตอร์เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณ

การรบกวนการสื่อสารข้อมูลของเครือข่าย
เมื่อเกิดสายสัญญาณขาด ณ จุดใดจุดหนึ่ง หรือมีการถอดปลายสายออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำให้สายสัญญาณ ณ จุดนั้นไม่มีตัวเทอร์มิเนเตอร์ อันเป็นเหตุให้สัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งจะไปรบกวนสัญญาณเดิม และทำให้ข้อมูลนั้นเสียไป สัญญาณนี้ก็จะสะท้อนกลับไปกลับมาซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลใหม่ได้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายประเภทนี้ล่ม 

ความสามารถในการขยายเครือข่าย
เมื่อต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ใหม่เข้ากับเครือข่าย จำเป็นต้องใช้สายสัญญาณที่ยาวขึ้น สายสัญญาณที่ใช้ในโทโปโลยีแบบบัสนี้สามารถต่อให้ยาวขึ้นโดย 2 วิธี ดังนี้
ใช้หัวเชื่อมต่อซึ่งเรียกว่า “barrel connector “เชื่อมต่อสายสัญญาณสองเส้นซึ่งจะทำให้สายสัญญาณยาวขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้หัวเชื่อมต่อนี้จะลดกำลังของสัญญาณ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้หัวเชื่อมต่อให้มากที่สุด การใช้สายสัญญาณที่ยาวเส้นเดียวจะดีกว่าการใช้สายสัญญาณหลายๆ เส้นเชื่อมต่อกันให้ยาวขึ้น การใช้หัวเชื่อมต่อหลายที่อาจจะทำให้สัญญาณลดทอนลงไป ซึ่งอาจมีผลทำให้ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง
ใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ หรือ repeater อุปกรณ์ตัวนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้ยาวขึ้น และในขณะเดียวกันก็เพิ่มกำลังให้กับสัญญาณด้วย  

โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์

การทำงานของบัส 
การทำงานหลัก ๆ ของบัสประกอบด้วยสองขั้นตอนคือการส่งแอดเดรสและการรับหรือส่งข้อมูล นิยามจากการทำงานที่กระทำกับหน่วยความจำ คือ ขั้นตอนการอ่านจะทำการส่งข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยประมวลผลและอุปกรณ์ I/O อื่นๆ และขั้นตอนการเขียน จะทำการเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเราจะเรียกว่า output และ input ตามลำดับ ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากการทำงานของหน่วยประมวลผล กล่าวคือ input จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ I/O ต่างๆ ไปยังหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถอ่านได้ และ output จะหมายถึงกระบวนการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ จากหน่วยความจำที่ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถเขียนได้




อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 
ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media) นำข้อมูล การจะใช้เคเบิ้ลแบบใดจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่น แบบบัส (Bus)จะใช้สายเคเบิ้ลโคแอกเซียล(Coaxial) แบบสตาร์ (Star) จะใช้สายเคเบิ้ลแบบยูทีพี (UTP) สายเคเบิ้ลที่ใช้งานในระบบเน็ทเวิร์กจะมีอยู่ 4 ประเภท คือ
1. สายโคแอกเซียล (Coaxial) เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนยางโดยจะมีลวดถักหุ้มสายยางอีกชั้น (Shield) ปกป้องสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้านนอกเป็นยางสีดำหุ้มอีกชั้น จะมี 2 แบบคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin) ส่วนมากจะใช้งานกับระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้งสองด้านจะต้องมีตัว Terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps ต่ำกว่าสาย UTP
2. สายยูทีพี (Unshielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8เส้น ตีเกลียวคู่มี 4 คู่ ไม่มีเส้นรวดถัก (Shield) เนื่องจากการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนแล้ว การใช้งานจะต้องมีการเข้าหัวอาร์เจ 45 (RJ-45) กับสายยูทีพีแล้วนำไปเสียบกับฮับ (Hub) มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 10/100 Mbps ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก
3. สายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นคู่ตีเกลียวมีอยู่ 2 คู่มีเส้นลวดถัก (Shield) เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ ซึ่งสายยูทีพีทำไม่ได้ สายเอสทีพีมีราคาค่อนข้างแพง
4. สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) หรือสายเส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายที่รับ-ส่ง สัญญาณด้วยแสง มีความเร็วในการทำงานสูงมาก ส่งได้ไกลและไม่มีสัญญาณรบกวนมีราคาแพงมากกว่าสายสัญญาณแบบอื่น ๆ
ข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัส

ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
3. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
4. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)

โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology)
เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโทโพโลยีแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อมเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) เป็นตัวอย่างที่ใช้ลักษณะโทโพโลยีแบบผสมที่พบเห็นมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หลากหลายที่เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะถูกเชื่อมต่อจากคนละจังหวัด หรือคนละประเทศก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่าง ๆ สาขาที่หนึ่งอาจจะใช้โทโพโลยีแบบดาว อีกสาขาหนึ่งอาจใช้โทโพโลยีแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น

การเข้าถึงระยะไกล
ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายจากระยะไกล เช่น อยู่ที่บ้าน ในการเชื่อมต่อก็จะใช้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสายโทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่าย หลักจากนั้นผู้ใช้ก็สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้เสมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัทอยู่

การบริหารเครือข่าย
เนื่องจากเครือข่ายเกิดจากการผสมแต่ละโทโพโลยีเข้าด้วยกัน ฉะนั้นรายละเอียดทางเทคนิคต่าง ๆ ของแต่ละเครือข่ายย่อยก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องแต่งตั้งผู้ดูแลบริหารเครือข่ายขึ้นมาทำหน้าที่ตรงนี้
โทโพโลยีทางกายภาพ
โทโพโลยีทางกายภาพ เป็นลักษณะการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในเครือข่ายจริง ๆ ซึ่งพิจารณาใน 2 ลักษณะคือ
รูปแบบในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ และลักษณะการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่าย
รูปแบบการเชื่อมต่อ (type of connection)
- แบบจุดต่อจุด (point – to - point )
- แบบหลายจุด (multipont หรือ multidrop lime )
การจัดวางเครือข่าย
- การจัดวางเครือข่ายแบบรวมศูนย์ (centralized network layout)
- การจัดวางเครือข่ายแบบกระจาย (distributed network layout)
รูปแบบการเชื่อมต่อ (type of connection)
หมายถึง วิธีการที่อุปกรณ์ตั้งแต่ 2 วิธีการที่อุปกรณ์ตั้งแต่ 2 อุปกรณ์ เชื่อมต่อกันด้วยสื่อส่งข้อมูล (transmission link) 1 สื่อ สื่อส่งข้อมูลเป็นลักษณะทางกายภาพ (physical ) และไม่จำเป็นต้องเป็นสายทองแดงอย่างเดียวอาจเป็นคลื่นวิทยุหรือคลื่นอื่นๆ สื่อส่งข้อมูลทำหน้าที่เป็นเส้นทางให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์หนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์หลายๆ ตัวได้ สื่อส่งข้อมูลได้แก่ สายทองแดง สายใยแก้วนำแสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น รูปแบบการติดตั้งสายมี 2 แบบ ได้แก่

1. แบบจุดต่อจุด
แบบจุดต่อจุด (point-to-point) คือ วิธีเชื่อมต่อสื่อสงข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 อุปกรณ์ โดยมีเส้นทางเพียง 1 เส้นเท่านั้น เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีแต่ละเครื่องมีเพียงสายเพียง 1 สายต่อเชื่อมโยงกันในการทำงาน หรือในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องปลายทาง 1 เครื่อง เชื่อมต่อกับเครื่องเมนเฟรมโดยใช้สาย 1 เส้น หรือในอีกกรณีหนึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันโดยใช้การส่งข้อมูลผ่านคลื่นไมโครเวฟ

2. แบบหลายจุดหรือมัลติดรอปไลน์
แบบหลายจุด หรือ มัลติดรอปไลน์ (multidrop lime) หมายถึง สื่อส่งข้อมูล 1 สื่อ มีอุปกรณ์หลายๆ อุปกรณ์ ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายร่วมกันดังรูปที่ 2.3 นอกจากนี้ถ้าสื่อส่งข้อมูลเป็นคลื่นวิทยุ แบบหลายจุดใช้คลื่นวิทยุในอากาศร่วมกันการใช้คลื่นวิทยุร่วมกัน ทำได้โดยแบ่งความถี่ออกเป็นช่วงความถี่ของอุปกรณ์แต่ละตัวซึ่งถือว่าเป็นการใช้สื่อสงข้อมูลร่วมกันในแบบแบ่งส่วนที่เรียกว่า การแบ่งปันส่วน (spatially share ) หรืออาจผลัดกันใช้สื่อส่งข้อมูลโดยกำหนดระยะเวลาการใช้ที่เรียกว่า การแบ่งปันเวลา ( time share )



โครงสร้างแบบเมซ ( Mesh Network)

โทโปโลยีแบบ MESH 
โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)
          รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก

ข้อดี
ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ

ข้อเสีย
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ
ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย



โครงสร้างแบบริง ( Ring Network)

      โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง






                        เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานี ที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้


เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลสายเดียว ในลักษณะวงแหวน ซึ่งมักจะใช้ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์วางอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงาน ได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน

หลักการรับส่งข้อมูล
                การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันจะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะมีขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุไว้จากเครื่องต้นทาง

การขยายเพิ่มเติมระบบ
                การขยายเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าเครือข่ายแบบ อื่น เพราะทุกครั้งที่เพิ่มคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็จะต้องตัดต่อสายเคเบิลเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะต้องปิดเครือข่ายก่อนจนกว่าจะเชื่อมต่อเสร็จ
  การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                เมื่อสายเคเบิลช่วงใดขาด เครือข่ายก็ไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้จนกว่าจะซ่อมแซมสายช่วงนั้นให้เรียบ ร้อยก่อน แต่จุดที่มีปัญหาในโครงสร้างเครือข่ายแบบนี้หาได้ไม่ยากนัก ซึ่งเครือข่ายแบบวงแหวนนี้มักจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรอง และป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
  ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในวงแหวนทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้น เดียว ซึ่งจะต้องใช้สายยาวมากขึ้น ถ้าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน

   ข้อดี  ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย 
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

   ข้อเสีย
หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก